ชนิดของหัว F.O. CONNECTOR หลายคนคงเคยเห็นและรู้จักหัว Connector ของ Fiber Optic ผ่านๆ ตามาบ้าง แต่จริงแล้วรู้หรือไม่ว่า หัว F.O. เนี่ย มีอยู่ด้วยกันหลายแบบ และแต่ละหัว Connector นำไปใช้ประโยชน์หรือแตกต่างกันอย่างไร ครั้งนี้ INTERLINK ผู้นำเข้าและจัดจำหน่ายสายสัญญาณที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียน จะมาแนะนำ F.O. Connector ทั้งหมดที่นิยมใช้งานกันอยู่ในปัจจุบัน ให้ทุกท่านได้ทราบกัน ชนิดของหัว F.O.
ST Connector ประเภทนี้มีอัตราการสูญเสียกำลังแสงเพียงแค่ไม่เกิน 0.5 dB เท่านั้น วิธีการเชื่อมต่อก็เพียงสอดเข้าไปที่รู Connector แล้วบิดตัวเพื่อให้เกิดการล็อกตัวขึ้น เพิ่มความทนทาน แข็งแรง ทำให้ไม่เกิดปัญหาจากการสั่นสะเทือน และหัวชนิดนี้ ยังถูกนำมาใช้กับระบบ LAN Hub หรือ Switch และการใช้งานสำหรับสาย Fiber Optic ชนิด Single Mode และ Multimode มากที่สุดอีกด้วย แต่ในปัจจุบัน หัว ST Connector ชนิดนี้ไม่เป็นที่นิยมแล้ว ชนิดของหัว F.O.
SC Connector เป็นหัวที่ได้รับความนิยมมากขึ้น เนื่องจากใช้ง่ายเพราะเป็นหัวแบบถอดเข้าถอดออกได้ พิเศษกว่านั้น เป็นชนิดปรับแกนเส้นใยนำแสงได้ด้วย และเหมาะสำหรับการเชื่อมต่อ Fiber Optic ภายในอาคารสำนักงาน ซึ่งเครือข่าย LAN ชนิดนี้ยังเหมาะสำหรับงานที่ต้องการถอดเปลี่ยน Connector แบบรวดเร็ว โดยไม่สนใจความแน่นหนาของ Connector
FC Connector หัวนี้ได้รับความนิยมมากในญี่ปุ่น สหรัฐฯ และยุโรป โดยส่วนมาก Connector ชนิดนี้ จะถูกนำไปใช้งานทางด้านเครือข่ายโทรศัพท์ เนื่องจาก FC Connector ชนิดนี้อาศัยการขันเกลียวเพื่อยึดติดกับหัวปรับ ซึ่งข้อดีก็คือการเชื่อมต่อที่แน่นหนา ทนทาน และแข็งแรง แต่การเชื่อมต่ออาจต้องเสียเวลามากหน่อย
LC Connector มักใช้สำหรับการรับ-ส่งข้อมูลที่มีความเร็วสูงมาก หรือเชื่อมต่ออุปกรณ์ทางแสง (Optical Module) ภายในองค์กร เป็นหัวที่มีขนาดเล็กนิยมใช้ต่อเข้ากับ Converter, GBIC หรือ SFP แต่ถ้าหากแบบคู่ ก็จะเรียก Duplex แบบเดี่ยวเรียก Simple ซึ่งก็ถือว่าเป็นหัวเชื่อมต่อที่ใช้งานง่ายมาก ทั้งยังสะดวก ราคาถูก มีการสูญเสียที่ต่ำมากและกินไฟน้อย มีทั้งแบบ Single Mode และ Multimode ซึ่ง LC Connector ถือเป็นการเข้าหัวสายที่นิยมมากในปัจจุบัน
คิดจะซื้อตู้แร็ค คิดถึง thaidreamrack.com ตู้แร็คไทย สำหรับประเทศไทย มีหลากหลายแบบ แต่มีทีนึงที่ราคาถูก และมีคุณภาพมาก เพราะรับประกัน นานถึง 10 ปี เลยที่เดียว
FC เป็นหัวเชื่อมต่อไฟเบอร์ออฟติคชนิดแรกที่มีโครงสร้างของหัวเป็นโลหะ ซึ่งต่างจากหัวชนิด SC และ LC ที่มีโครงสร้างเป็นพลาสติก หัว FC จะใช้ตัวยึดแบบสกรูกลมที่ทำจากเหล็กชุบนิกเกิลหรือสแตนเลส หน้าสัมผัสส่วนปลายของตัวเชื่อมต่อจะมีแถบโลหะเป็นตัวกำหนดตำแหน่งเพื่อการเสียบกับ Adapter ที่ถูกต้อง
จากนั้นขันให้แน่นกับ Adapter โดยใช้ปลอกรัดแบบเกลียว ซึ่งข้อดีก็คือการเชื่อมต่อที่แน่นหนา ทนทาน และแข็งแรง แม้จะมีความซับซ้อนมากขึ้นทั้งในการผลิตและการติดตั้ง แต่เป็นตัวเลือกสำหรับอุปกรณ์การวัดที่แม่นยำ เช่น OTDR
เริ่มแรกมีไว้สำหรับแอปพลิเคชั่นของ ดาต้าคอมและโทรคมนาคม ที่นิยมใช้ในญี่ปุ่น สหรัฐฯ และยุโรป การใช้งานเริ่มลดน้อยลงตั้งแต่เปิดตัวหัวชนิด SC และ LC สิ่งเหล่านี้ให้ประสิทธิภาพที่คล้ายคลึงกับ FC แต่ทั้งคู่มีส่วนประกอบที่ถูกกว่าและเชื่อมต่อได้เร็วกว่า อย่างไรก็ตาม ปลอกสวมแบบเกลียวของ FC
ทำให้มันมีประสิทธิภาพโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสภาพแวดล้อมที่มีการสั่นสะเทือนสูง ทำให้มั่นใจได้ว่าปลอกโลหะที่รับน้ำหนักด้วยสปริงจะจับคู่อย่างแน่นหนา
การเชื่อมต่อ ST ได้รับการพัฒนาโดย AT&T ไม่นานหลังจากการมาของ FC ซึ่งทำจากปลอกโลหะเช่นกัน แต่ ST ใช้การติดตั้งก็เพียงสอดเข้าไปที่รู Connector แล้วบิดตัวเพื่อให้เกิดการล็อกตัวขึ้น เพิ่มความทนทาน แข็งแรง ทำให้ไม่เกิดปัญหาจากการสั่นสะเทือน การใช้งานลดลงในทศวรรษที่ผ่านมา
ด้วยเหตุผลเดียวกับ FC นอกจากนี้ยังไม่สามารถทำปลายหัวให้มีหน้าตัดเอียง 8 องศา เพื่อลดค่าทอนสัญญาณสำหรับระบบเครือข่ายเน็ตเวิร์ก ( FTTH) ซึ่งจำกัดการใช้งานในไฟเบอร์ Singlemode